มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์ (มูลนิธิแมพ) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2539 จากการบอกเล่าของแรงงานข้ามชาติที่รู้สึกถึงความอ้างว้างโดดเดี่ยว การถูกปิดกั้นการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็น โดยชีวิตของพวกเขาเหล่านั้นมีแต่การทำงาน จะหาเวลาว่างหรือหาความบันเทิงนั้นแทบไม่มีและด้วยความเป็นแรงงานข้ามชาติ จึงมีข้อจำกัดในเรื่องการเดินทาง บางรายก็อ่านหนังสือไม่ออก แต่เนื่องจากแรงงานส่วนใหญ่มีวิทยุ และสามารถฟังเข้าใจ ดังนั้นมูลนิธิแมพจึงได้พิจารณาที่จะดำเนินโครงการ MAP Radio เพื่อเป็นการกระจายข้อมูลข่าวสาร และเพิ่มช่องทางการสื่อสารให้แก่แรงงานข้ามชาติ
ในช่วงแรกมูลนิธิแมพได้ยื่นคำร้องขอเวลาออกอากาศต่อสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย และได้รบอนุญาตให้ออกอากาศสั้น ๆ 10 นาที เป็นประจำในช่วงเวลากลางคืน เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและวัฒนธรรมเป็นภาษาไทใหญ่และกะเหรี่ยง และได้จัดตั้งสตูดิโอในสำนักงานมูลนิธิแมพ โดยมีอาสาสมัครจากชุมชนชาวไทใหญ่และชาวกะเหรี่ยงเป็นผู้เขียนและบันทึกเสียงบทพูดต่าง ๆ เพื่อส่งมายังสถานีวิทยุ ซึ่งทำให้นักจัดรายการวิทยุมีชื่อเสียงโด่งดังขึ้นมาทันทีในชุมชนที่พวกเขาเหล่านั้นอาศัยอยู่ แต่เนื่องจากการออกอากาศวิทยุที่ทำนั้นเป็นรายการสั่น ๆ และออกอากาศค่อนข้างดึก ซึ่งเป็นเวลาที่แรงงานข้ามชาติเข้านอนแล้วเพราะทำงานหนักมาทั้งวัน ดังนั้นพวกเราจึงได้รวบรวมรายการต่าง ๆ บันทึกลงในเทปและซีดี และนำแจกจ่ายให้แก่แรงงานข้ามชาติที่อาศัยอยู่ในชุมชนต่าง ๆ รวมถึงศูนย์พักพิงชั่วคราว นอกจากนี้พวกเรามีแผนการผลิตละครทางวิทยุเกี่ยวกับการตีตราผู้ป่วยเอชไอวีและเอดส์ ซึ่งเป็นการให้ทั้งความบันเทิงและสอดแทรกความรู้แก่ผู้ฟัง
ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2540 ได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่กำกับสื่อกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ โดยเปิดช่องทางให้สามารถจัดตั้งสถานีวิทยุชุมชนได้ แม้ว่าจะใช้เวลาในการดำเนินการจัดตั้งสถานีวิทยุชุมชนอยู่บ้าง แต่เพียงไม่กี่ปีต่อมาก็มีสถานีวิทยุชุมชนจำนวนมากทั่วประเทศไทย ที่ดำเนินจัดรายการออกอากาศในเรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่องเยาวชน เรื่องผู้หญิง หรือเรื่องปัญหาของชาวนา เป็นต้น
อาจารย์หมอ ทันตแพทย์อุทัยวรรณ กาญจนกมล ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ดำเนินรายการวิทยุชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่และมีเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมระหว่างชาวไทยและชาวไทใหญ่ ท่านได้สอบถามกับทางมูลนิธิแมพว่าต้องการเวลาออกอากาศของสถานีวิทยุ FM 99 MHz สำหรับออกอากาศเป็นภาษาไทใหญ่หรือไม่ซึ่งทางมูลนิธิแมพได้ตอบรบด้วยความยินดี เพราะถือเป็นโอกาศอันดีในการสื่อสารกับชุมชนชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ และนำไปสู่การเชื่อมโยงระหว่างชุมชนแรงงานข้ามชาติและชุมชนในท้องถิ่น MAP Radio คลื่น FM 99MHz จังหวัดเชียงใหม่ ได้เปิดดําเนินการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2547 ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ FM ที่สามารถส่งสัญญาณวิทยุได้ในรัศมี 7 กิโลเมตร ครอบคลุมเฉพาะในเขตพื้นที่อําเภอเมือง
เมื่ออาจารย์หมอเกษียณราชการ ท่านได้เสนอให้มูลนิธิแมพดำเนินงานสถานีวิทยุต่อจากท่านซึ่งพวกเรายังคงสำนึกต่อความปรถนาดีและขอบคุณท่านอยู่เสมอ พวกเรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะสืบทอดเจตนารมณ์ของท่านในการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างชุมชนที่มีความแตกต่างกัน และทำให้มีความเข้าใจซึ่งกันจและกันให้มากขึ้น โครงการวิทยุแมพจึงกลายเป็นสื่อกลางในการสื่อสารสำหรบชุมชนได้มากยิ่งขึ้นโดยไม่จำกัดอยู่เพียงกลุ่มคนพิการ กลุ่มสตรี กลุ่มพนักงานบริการ กลุ่มเยาวชน กลุ่มด้านศาสนา และแน่นอนกลุ่มแรงงานข้ามชาติและครอบครัวของพวกเขา เราไม่เพียงแค่นำเสนอข้อมูลข่าวสารให้กับชุมชนเท่านั้นหากแต่ยังเชื่อมโยงพวกเขาด้วยกัน ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์ในระหว่างชุมชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภาษาได้มากยิ่งขึ้น
จากการดำเนินงานสถานีวิทยุแมพในจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มีการขยายการจัดตั้งสถานีวิทยุในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก แม้ว่าจะใช้เวลาหลายปี ในการดำเนินการจัดตั้ง แต่สถานีวิทยุแห่งนี้ก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วหลังมีการออกอากาศ ในช่วงเวลาออกอากาศครั้งแรกมีแรงงานข้ามชาติให้ความสนใจจำนวนมากโดยพวกเขายืนเข้าแถวรอหน้าตู้โทรศัพท์ด้านนอกของโรงงานที่ทำงานอยู่ เพื่อโทรศัพท์มายังสถานีวิทยุแมพในคลื่น FM 102.5 MHz เพื่อขอเพลงและฝากข้อความ โครงการวิทยุแมพในอำเภอแม่สอดจึงกลายเป็นสื่อกลางในการสื่อสารสำหรับชุมชนที่มีความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม ชีวิตและความเป็นอยู่ โดยการมีการออกอากาศหลากหลายภาษา ทั้งภาษาพม่า ภาษากะเหรี่ยง และภาษาไทย โดยมีเป้าหมายให้วิทยุแมพเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับแรงงานทุกคนในอำเภอแม่สอด และสามรถเข้าถึงแรงงานได้ ทั้งที่ทำงานในโรงงาน ทำงานก่อสร้างทำงานที่บ่อทิ้งขยะ แม้แต่แรงงานทำงานบ้านที่ถือว่าเป็นแรงงานที่มีความโดดเดียวมากที่สุดก็ยังสามารถรับฟังรายการวิทยุได้จากโทรศัพท์ของพวกเขา
มูลนิธิแมพทราบดีว่าวิทยุชุมชนนั้นสามารถเข้าถึงได้ในพื้นที่ที่จัด ดังนั้นในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมามูลนิธิแมพได้พยายามหาวิธีการที่จะเข้าถึงผู้ย้ายถิ่นฐานในพื้นที่อื่น ๆ เช่น หลังจากเกิดเหตุการณ์สินามิที่ทางภาคใต้ของประเทศไทย มูลนิธิแมพได้สร้างเครือข่ายการทํางานร่วมกับสถานีวิทยุชุมชนของชาวไทยในท้องถิ่น เพื่อให้เข้าถึงแรงงานข้ามชาติที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ นอกจากนี้มูลนิธิแมพได้ส่งแผ่นซีดีบันทึกรายการวิทยุสําหรับแรงงานข้ามชาติไปยังสถานีวิทยุชุมชนไทยต่างๆทั่วประเทศ การดําเนินการที่ผ่านมาพวกเราได้เผชิญผลการวิจัยวิทยุชุมชนของมูลนิธิแมพ กับอุปสรรคต่างๆ และต้องหาวิธีการดําเนินการใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพื่อนําเสนอข้อมูลข่าวสารและความบันเทิงให้กับชุมชนแรงงานข้ามชาติ ซึ่งวิธีการดําเนินการล่าสุดคือ การจัดรายการวิทยุออนไลน์
มูลนิธิแมพยืนยันที่จะดําเนินโครงการวิทยุต่อไปอย่างต่อเนื่อง โดยต้องการเห็นทุกคนสามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเพื่อสนับสนุนการเรียกร้องสิทธิของพวกเขา และต้องการเห็นทุกคนมีเวลาที่จะมีความสุขความบันเทิง ไม่ว่าจากทางวิทยุหรือสื่ออื่นๆ และในอนาคตต้องการเห็นชุมชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมสามารถที่จะแบ่งปันข้อมูลข่าวสารกันผ่านวิทยุและในชีวิตประจําวัน