Agenda (3)
ၸိူဝ်းပီးၼွင်ႉႁႅင်းၵၢၼ်တင်းသဵင်ႈ
သင်ဝႃႈတေမိူဝ်းလႄႇၸႂ်းႁိူၼ်း ၼႂ်းၶၢဝ်းပွႆးသွၼ်းၼမ်ႉလိူၼ်ႁႃႈသၢင်းၵျၢၼ်ႇၼႆႉ
တေဢမ်ႇလႆႈသဵင်ႈၵႃႈတွၵ်ႇၸုမ်ႈ Re-Entry Visa
မိူဝ်းဝၼ်းထီႉ 19 ၊ မီႊၼႃႊၶူမ်ႊ ၊ 2562 လူင်ပွင်ၸိုင်ႈထႆး မီးၶေႃႈတူၵ်းလူင်းႁၼ်လီၸွမ်း ႁွင်ႈၵၢၼ်ၽၢႆႇႁႅင်းၵၢၼ်ယၢၼ်မိူင်း
ဢၼ်လႆႈယိုၼ်ႈယွၼ်းပၼ်ပုၼ်ႈတႃႇပီႈၼွင်ႉႁႅင်းၵၢၼ်သၢမ်ၸိုင်ႈမိူင်း မိူင်းမၢၼ် ၊ မိူင်းလၢဝ်း လႄႈ မိူင်းၵမ်ႊပူႊၶျုႊ ၸိူဝ်းယိပ်းဝႂ်ၽတ်ႉသ်ပွတ်ႇၶၢမ်ႈမိူင်းသေ
လႆႈမႃးႁဵတ်းၵၢၼ်ဝႆႉယူႇတီႈၼႂ်းမိူင်းထႆးတင်းသဵင်ႈတႃႇမိူဝ်းလႄႇၸႂ်းႁိူၼ်း ၼိုင်ႈပီၼိုင်ႈပွၵ်ႈၶၢဝ်းၶိင်ႇ ပွႆးသွၼ်းၼမ်ႉလိူၼ်ႁႃႈသၢင်းၵျၢၼ်ႇတၢင်ႇတႄႇ ဝၼ်းထီႉ 5 -30 လိူၼ်မေႊသႃႊယူၼ်ႊ 2562 ၼၼ်ႉ
တၵ်းတေဢမ်ႇလႆႈသဵင်းၵႃႈ Re-Entry Visa ၵူၺ်းၵႃႈ ပီႈၼွင်ႉႁႅင်းၵၢၼ်ၵူႈၵေႃႉ တိုၼ်းတေလႆႈ ဢွၵ်ႇတင်းၽၵ်းတူၶဝ်ႈတင်းၽၵ်းတူ(တၢင်းၵၢၼ်) သေလႄႈ ၸဝ်ႈၼႃႈတီႈတေႃးမေႃး တင်းသွင်ၸိုင်ႈမိူင်း
တိုၼ်းတေလႆႈ တွၵ်ႇၸုမ်ႈဢွၵ်ႇ (ၽင်ႇထႆး) တွၵ်ႇၸုမ်ႈၶဝ်ႈ (ၽင်ႇမၢၼ်ႈ) ။ မိူဝ်ႈၶိုၼ်းပွၵ်ႈမႃးၵေႃႈ တိုၼ်းတေလႆႈတွၵ်ႇၸုမ်ႈဢွၵ်ႇ မိူင်းမၢၼ်ႈ လႄႈ တွၵ်ႇၸုမ်ႈၶဝ်ႈၶိုၼ်းမိူင်းထႆး။
(1) ၶၢဝ်းတၢင်းမၵ်းမၼ်ႈတႃႇဢွၵ်ႇမိူင်းထႆးမိူဝ်းၸႂ်းႁိူၼ်း တင်ႇတႄႇ ဝၼ်းထိ 5 -30 လိူၼ်မေႊသႃႊယူၼ်ႊ 2562 (5-30/ 4/ 2019)
(2) သင်ဝႃႈမီးလွင်ႈမီးတၢင်း လႆႈဢွၵ်ႇမိူဝ်းၸႂ်းႁိူၼ်းဢွၼ်တၢင်း ဝၼ်းထိ 5 လိူၼ်မေႊသႃႊယူၼ်ႊ 2562 ၼႆၸိုင် တိုၼ်းတေလႆႈသဵင်ႈၵႃႈတွၵ်ႇၸုမ်ႈၽၢၼ်ႇလၢၼ်ႇ ၸွမ်းၼင်ႇပၵ်းပိူင်မီးဝႆႉ။
(3) ဢမ်ႇၼၼ် သင်လႆႈဢွၵ်ႇမိူဝ်းၸႂ်းႁိူၼ်းယဝ်ႉ ၶဝ်ႈမႃးၶိုၼ်းၼႂ်းမိူင်းထႆး ဝၢႆးလင် ဝၼ်းထိ 30 လိူၼ်မေႊသႃႊယူၼ်ႊ 2562 ၊ ပူၼ်ႉၶၢဝ်းယၢမ်းမၼ်းၸွမ်းၼင်ႇမၵ်းမၼ်ႈဝႆႉၸိုင်
တိုၼ်းတေလႆႈသဵင်ႈၵႃႈၽၢၼ်ႇလၢၼ်ႇတီႈလုမ်းၽၢႆႇၵူတ်ႇထတ်းၵူၼ်းၶဝ်ႈမိူင်း(တေႃးမေႃး)။
(4) ၶႂ်ႈပၼ်ၾၢင်ႉ ပီႈၼွင်ႉႁႅင်းၵၢၼ်ႁဝ်းၶႃႈ ဢၼ်ၸိူဝ်းမီးၽႅၼ်ၵၢၼ် တေမိူဝ်းလႄႇၸႂ်းႁိူၼ်းၼၼ်ႉ ႁႂ်ႈႁၢင်ႈႁႅၼ်း ဝတ်းဝႂ် ၊ ၽၢတ်ႉသ်ပွတ်ႇ ၊ သမၢတ်ႊၵၢတ်ႉ
လႄႈ ဝႂ်ၶႂၢင်ႉတီႈပေႃႈလဵင်ႉၼၢႆးၸၢင်ႈၸိူဝ်းၼႆႉ ႁႂ်ႈလႆႈၵဵပ်းသိမ်းမိူဝ်းလီလီ ။သင်ပဵၼ်လႆႈ ထၢႆႇၽိုၼ်မိူၼ်မၼ်းၵဵပ်းသိမ်းဝႆႉ
တီႈႁွင်ႈ/ တီႈႁိူၼ်း ဢမ်ႇၼၼ် တီႈတႆးၵေႃႉတမ်းၸႂ်၊ၵွပ်ႈပိူဝ်ႈ ၶူပ်ႇမိူဝ်ႈမၼ်းတူၵ်းႁၢႆ ၊ သိၵ်ႇၵႂႃႇ ဢမ်ႇၼၼ်
ယမ်းၼမ်ႉၵႂႃႇပေႃးဝႃႈၼႆၸိုင်တေငၢႆႈငႅမ်ႈ တႃႇၶိုၼ်းတၢင်ႇယွၼ်းၶိုၼ်းၽိုၼ်တေႉမၼ်းၼၼ်ႉၶႃႈယဝ်ႉ။
မၢႆတွင်း/
ၽၵ်းတူ / လၢၼ်ႇ ဢၼ်ပဵၼ်တၢင်းၵၢၼ်ၼၼ်ႉ မီးဝႆႉမိူၼ်ၼင်ႇ ...
1) လၢၼ်ႇမႄႈသၢႆ ၸႄႈတွၼ်ႈၵဵင်းႁၢႆး ။
2) လၢၼ်ႇမႄႈသွတ်ႇ ၸႄႈတွၼ်ႈတၢၵ်ႇ ။
ข้อเรียกร้องเนื่องในวันกรรมกรสากล 2018
ด้วยวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี เป็น “ วันกรรมกรสากล ” ซึ่งเป็นวันที่คนทำงานทั่วโลกได้รำลึกถึงการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคมของคนทำงาน เป็นการยกย่องและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของคนทำงานในทุกสาขาอาชีพ สิทธิอันชอบธรรมที่คนทำงานสมควรได้รับในฐานะมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับประชาชนกลุ่มอื่น ๆในฐานะที่คนทำงานเป็นส่วนสำคัญหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ก้าวไปข้างหน้าและทัดเทียมกับนานาประเทศ
ตามที่รัฐบาลไทยพยายามที่จะดำเนินนโยบายการพัฒนาประเทศ “ไทยแลนด์ 4.0” แต่กลับพบว่าแรงงาน ซึ่งเป็นฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยังประสบปัญหาอยู่ ลักษณะการจ้างงานมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เปลี่ยนลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างลูกจ้าง สภาพการจ้างงานในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับกฎหมายเดิมที่กำหนดไว้ และรูปแบบที่มีความหลากหลายมากขึ้น ตลอดจนประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ในโอกาสนี้ เครือข่ายแรงงานภาคเหนือ ซึ่งประกอบด้วย องค์กรที่ทำงานด้านส่งเสริมสิทธิด้านแรงงาน กว่า 15 องค์กร นักวิชาการจากสถาบันการศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ และตัวแทนคนทำงานงานทุกสาขาอาชีพในพื้นที่ ได้ประเมินและพิจารณาถึงสถานการณ์ด้านแรงงานภายในพื้นที่ภาคเหนือ และพบว่า
- แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของภาคเหนือยังคงมีปัญหาและอุปสรรคในการจัดตั้งสหภาพแรงงาน และไม่มีส่วนร่วมในคณะกรรมการไตรภาคีชุดต่างๆ
- คนงานทำงานบ้านและคนทำงานในภาคเกษตรกรรมไม่สามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทน รวมถึงไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เช่น เรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ วันหยุดที่ได้รับค่าจ้าง วันหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นต้น
- แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับสิทธิเฉกเช่นแรงงานทั่วไปตามที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนด เช่น ไม่ได้รับค่าจ้างตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ไม่มีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่ได้รับค่าจ้างในวันหยุดและวันลาตามที่กฎหมายกำหนด ต้องทำงานล่วงเวลาโดยไม่สมัครใจ และเข้าไม่ถึงระบบประกันสังคม เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องอาชีพ และเอกสารที่ใช้ในการขึ้นทะเบียน นายจ้างบางรายไม่ได้นำลูกจ้างไปขึ้นทะเบียนประกันสังคม และคนงานส่วนที่เข้าสู่ระบบประกันสังคมก็ยังมีปัญหาการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ เช่น การใช้สิทธิเบิกเงินสงเคราะห์บุตร และกรณีการรับเงินบำเหน็จชราภาพ
- มีการเลือกปฏิบัติในการจ่ายค่าจ้างระหว่างแรงงานหญิงและแรงงานชาย
- แรงงานในภาคบริการยังคงถูกเลือกปฏิบัติและตีตราจากสังคม ด้วยเหตุผลของความแตกต่างทางเพศ ยังไม่สามารถเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพเฉกเช่นแรงงานทั่วไป
เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหา และส่งเสริมให้เห็นถึงคุณค่าความสำคัญของคนทำงาน เครือข่ายแรงงานภาคเหนือ ร่วมกับคนทำงานทุกสาขาอาชีพจึงขอเรียกร้องให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินการดังต่อไปนี้
ข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทย
- ขอให้รัฐบาลไทยแก้ปัญหาการขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติ โดยเพิ่มจำนวนและกระจายศูนย์บริการไปยังระดับอำเภอ มีขั้นตอนดำเนินการที่สั้น ง่าย ใช้เอกสารน้อย และลดค่าใช้จ่ายลงให้น้อยกว่าที่เรียกเก็บอยู่ในปัจจุบัน เพื่อป้องกันการแสวงหาประโยชน์จากแรงงานข้ามชาติจากนายหน้า
- รัฐบาลต้องเข้มงวดในการดำเนินการตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน เพื่อให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างต่อแรงงานทุกคนตามกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ
- เพื่อเป็นการลดอคติและสร้างทัศนคติที่ดีต่อแรงงานข้ามชาติในสังคมไทย ขอให้รัฐบาลแก้ไขคำว่า “แรงงานต่างด้าว” ในกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้เป็น “แรงงานข้ามชาติ”
- ขอให้รัฐบาลปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นค่าจ้างเพื่อชีวิต (living wage) ในอัตรา 450 บาทต่อวัน เพื่อให้เกิดค่าจ้างที่เป็นธรรม คุ้มครองคนทำงาน และสมาชิกครอบครัว ตามที่ได้ยื่นข้อเรียกร้องไว้ในปี 2560
- ขอให้รัฐบาลไทยรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และเร่งดำเนินการรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง ภายในปี 2561
- ขอให้รัฐบาลไทยเร่งดำเนินการรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 189 ว่าด้วยงานที่มีคุณค่าสำหรับลูกจ้างทำงานบ้าน ภายในปี 2561 เพื่อส่งเสริมสิทธิของคนงานทำงานบ้าน
- ขอให้รัฐบาลกำหนดให้แรงงานทุกคน ทุกอาชีพเข้าสู่ระบบประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทนอย่างเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ
- ขอให้รัฐบาลกำหนดให้พนักงานบริการ ผู้ทำงานบ้าน แรงงานนอกระบบ แรงงานในภาคเกษตรที่ไม่มีการจ้างงานกันตลอดทั้งปี เป็นอาชีพที่อยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานทุกฉบับ ไม่เลือกปฏิบัติ
- ให้แรงงานข้ามชาติทำงานได้ทุกอาชีพตามความสามารถของตน ขยายอายุของแรงงานข้ามชาติให้สามารถทำงานได้ถึงอายุ 60 ปี
- ขอให้รัฐบาลประเทศไทยและรัฐบาลประเทศต้นทางมาปฏิบัติตามอนุสัญญา ILO 181 ว่าด้วยบริษัทจัดหางานเอกชน ตามมาตรา 7 บริษัทนายหน้าต้องไม่คิดค่าบริการใดๆ จากคนงานไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม
ข้อเรียกร้องต่อกระทรวงแรงงาน
- ให้กระทรวงแรงงานกำหนดให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพของคนทำงาน ในประเด็นสิทธิการรวมกลุ่มและการเจรจาต่อรอง โดยไม่เลือกปฏิบัติ
- แรงงานข้ามชาติสามารถเข้าถึงสิทธิการพัฒนาฝีมือแรงงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยมีสิทธิได้รับประกาศนียบัตร และนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างแท้จริง
ข้อเรียงร้องต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
- เพื่อความปลอดภัยของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ ให้จังหวัดเชียงใหม่ จัดระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมและราคาถูกสำหรับคนทำงานทุกคน
ข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
- ขอให้รัฐบาลสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาดูแลให้แรงงานที่กลับไปยังประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาได้เข้าถึงสิทธิในด้านต่างๆ เช่นทางทะเบียนราษฎร์ ทางการศึกษา สุขภาพและอาชีวอนามัย และสิทธิพลเมือง
- ขอให้รัฐบาลสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาเปิดให้จดทะเบียนสมรสและทำบัตรประชาชนได้ในสถานฑูตสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาประจำประเทศไทย
- ขอให้รัฐบาลสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาดำเนินการให้มีระบบประกันสังคมโดยเร่งด่วน
จึงเรียนมาเพื่อดำเนินการโดยเร่งด่วน
ขอแสดงความนับถือ
เครือข่ายแรงงานภาคเหนือ